วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ปารีส ประเทศฝรั่งเศส


ปารีส (ฝรั่งเศส: Paris paˈʁi /ปารี/}) เป็นเมืองหลวงของประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่บนแม่น้ำแซน บริเวณตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส บนใจกลางแคว้นอีล-เดอ-ฟรองซ์ (Île-de-France หรือ Région parisienne (RP) ) ภายในกรุงปารีสมีประชากรประมาณ 2,167,994 คน เขตเมืองปารีส (Unité urbaine) ซึ่งมีพื้นที่ขยายเกินขอบเขตอำนาจการปกครองของเมืองนั้น มีประชากรกว่า 9.93 ล้านคน (พ.ศ. 2547) ในขณะที่เขตมหานครปารีส (Agglomération parisienne) มีประชากรเกือบ 12 ล้านคนและเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีประชากรสูงที่สุดแห่งหนึ่งในทวีปยุโรป
จากการตั้งถิ่นฐานมากว่า 2 พันปี ปัจจุบันกรุงปารีสเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมที่ล้ำสมัยแห่งหนึ่งของโลก และด้วยอิทธิพลของการเมือง การศึกษา บันเทิง สื่อ แฟชั่น วิทยาศาสตร์และศิลปะ ทำให้กรุงปารีสเป็นหนึ่งในเมืองที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แคว้นอีล-เดอ-ฟรองซ์เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประเทศฝรั่งเศส ด้วยจำนวนเงินกว่า 500.8 ล้านล้านยูโร (628.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ซึ่งมากกว่าหนึ่งส่วนสี่ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของประเทศฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2548 กรุงปารีสยังเป็นสถานที่ทำการของบริษัทยักษ์ใหญ่ 36 บริษัทจากบริษัทยักษ์ใหญ่ 500 บริษัทจากการสำรวจของฟอร์จูน โกลบัล 500 (Fortune Global 500) อีกด้วย โดยเฉพาะย่านธุรกิจที่สำคัญแห่งหนึ่งของทวีปยุโรป ลา เดฟองซ์ ทั้งยังเป็นที่จัดงานนิทรรศการต่างๆ ซึ่งรวมถึงสหประชาชาติ ฯลฯ
ปารีสเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่โด่งดังแห่งหนึ่งในโลก โดยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติมากกว่า 30 ล้านคนต่อปี กรุงปารีสเป็นหนึ่งใน 4 นครสำคัญของโลก อีกสามนครคือ ลอนดอน, โตเกียว และ นิวยอร์ก
คำว่า ปารีส ออกเสียง /พารีส/ [ˈparɪs] หรือ /แพรีส/ [ˈpæɹɪs] ในภาษาอังกฤษ และ /ปารี/ [paʁi] ในภาษาฝรั่งเศส เป็นคำที่มาจากชื่อเผ่าหนึ่งของชาวโกล เป็นที่รู้จักกันในนาม "ปาริซี" (Parisii) ซึ่งเป็นชาวเมืองที่อาศัยในสมัยก่อนโรมัน โดยที่เมืองมีชื่อเดิมว่า "ลูเทเชีย" (ละติน: Lutetia) (ชื่อเต็ม "Lutetia Parisiorum" แปลว่า ลูเทเชียแห่งปาริซี) ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 1 ถึง 6 ในช่วงที่อาณาจักรโรมันยึดครอง แต่ในช่วงการครองราชย์ของจูเลียน ดิ อโพสเทต (พ.ศ. 904 - พ.ศ. 906) ได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็น "ปารีส" ปารีสมีชื่อเล่นมากมาย แต่ชื่อที่โด่งดังที่สุดคือ "นครแห่งแสงไฟ" (ฝรั่งเศส: La Ville-lumière) ซึ่งหมายความว่าเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนและความรู้ ทั้งยังหมายความว่าเป็นเมืองที่สว่างไสวเต็มไปด้วยแสงไฟอีกด้วย ตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา นครปารีสมีชื่อเรียกในภาษาแสลงว่า "ปานาม" (ฝรั่งเศส: Paname [panam]) เช่น ชาวปารีสมักแนะนำตนเองว่า "มัว, เชอซุยเดอปานาม" (ฝรั่งเศส: Moi, je suis de Paname) หรือ "ฉันมาจากปานาม"พลเมืองชาวปารีสเป็นที่รู้จักกันในนาม "ปารีเซียน" (Parisian) ("พาริเซิน" หรือ "แพริเซิน" ในภาษาอังกฤษ หรือ "ปารีเซียง" [paʁizjɛ̃] ในภาษาฝรั่งเศส โดยคำนี้ บางครั้งจะถูกเรียกอย่างดูถูกว่า ปารีโก (Parigots) [paʁigo] โดยประชาชนที่อาศัยนอกแคว้นของปารีส แม้ว่าบางครั้งชาวปารีเซียงจะชอบพอกับคำนี้ก็ตาม

เครื่องดื่มสมุนไพร


เครื่องดื่มสมุนไพร คือ เครื่องดื่มที่เตรียมจากส่วนต่างๆ ของพืช ไม่ว่าจะได้มากจากการคั้นน้ำจากผลไม้สด หรือเตรียมจากส่วนอื่นๆ เช่น เหง้า ใบ ดอก เมล็ด เริ่มจาก นมถั่วเหลือง หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า น้ำเต้าหู้เป็นเครื่องดื่มสมุนไพรที่ทำมาจากเมล็ดถั่วเหลือง มีโปรตีนสูง ช่วยบำรุงร่างกายให้ เจริญเติบโตและแข็งแรง ช่วยบำรุงสายตา เนื่องจากมีวิตามินเอ มาก และยังเป็นแหล่งเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกายอีกด้วย น้ำใบบัวบก ได้จากการคั้นน้ำจากใบและต้นสดของบัวบก ใช้ดื่มเป็นยาบำรุง แก้อ่อนเพลีย ช่วยลดอาการอักเสบ ช้ำใน ช่วยให้แผล หายเร็วขึ้น และยังมีรายงานว่าใช้รักษาโรคเรื้อนและซิฟิลิสได้ด้วย น้ำเก๊กฮวย ก็เป็นเครื่องดื่มอีกชนิดหนึ่งที่เราสามารถหาดื่มได้ง่าย วิธีทำก็คือนำดอกเก๊กฮวยที่ตากแห้งแล้วมาต้มกับน้ำแล้วเติมน้ำตาล เพื่อให้มีรสหวาน สรรพคุณของเก๊กฮวย ช่วยดับพิษร้อน แก้ร้อนใน นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าดอกเก๊กฮวยใช้เป็นยาแก้ ปวดท้อง และเป็นยาระบายได้อีกด้วย น้ำขิง ได้จากการนำเหง้าขิงอ่อนมาปอกเปลือก ทุบพอแตกหรือผ่าเป็นแว่นบางๆ เติมน้ำตาลทรายเล็กน้อย น้ำขิงมีสรรพคุณช่วยขับลม ย่อยอาหาร แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ในปัจจุบัน สามารถหาซื้อขิงผงสำเร็จรูปได้ในท้องตลาด ขิงผงสำเร็จรูปเพียงเติมน้ำร้อนลงไป ละลาย ก็ดื่มได้ทันที น้ำมะเขือเทศ ได้จากการนำผลมะเขือเทศสุกที่ล้างสะอาดมาปั่นให้ละเอียด ผสมน้ำเชื่อมและเกลือเพื่อแต่งรส ช่วยให้ร่างกายสดชื่น ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน และยังสามารถลดความดันได้อีกด้วย สารอาหารที่สำคัญในน้ำมะเขือเทศ คือ วิตามินเอ และซี รวมถึงมีโปแตสเซียมอีกด้วย น้ำกระเจี๊ยบ เป็นเครื่องสมุนไพรที่ได้จากกลีบเลี้ยงของดอก ซึ่งมีกรดอินทรีย์ต่างๆ ที่ทำให้น้ำกระเจี๊ยบมีรสเปรี้ยว นอกจากนี้ยังมี แร่ธาตุต่างๆ มากมาย เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม และวิตามินซี เป็นต้น น้ำกระเจี๊ยบมีประโยชน์ช่วยแก้ กระหายน้ำทำให้อุณหภูมิร่างกายลดลง ทำให้ร่างกายสดชื่น ช่วยย่อยอาหารโดยเฉพาะในกรณีน้ำดีไม่ปกติ ช่วยขับปัสสาวะ ลดความดัน ช่วยระบายอ่อนๆ และสามารถใช้รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน กรดอินทรีย์ใน น้ำกระเจี๊ยบมีคุณสมบัติลดไขมันในเลือดได้ น้ำมะนาว ซึ่งมีรสเปรี้ยว นิยมนำมาผสมกับน้ำเชื่อมและเกลือเพื่อปรุงรสหวานเค็ม ทำเป็นเครื่องดื่มเย็น ดื่มแก้กระหาย น้ำทำให้ชุ่มคอ แก้คอแห้งบำรุงเสียงและแก้เลือดออกตามไรฟัน น้ำมะตูม เป็นเครื่องดื่มที่ได้จากการต้มหรือชงผลมะตูมอ่อนที่ตากแห้ง แล้วผ่าเป็นแว่นบางๆ แล้วเติมน้ำตาลทราบเพื่อเพิ่มรสหวาน สรรพคุณของน้ำมะตูม สามารถแก้ท้องเสียได้ โดยเฉพาะในเด็กที่เป็นโรคท้องร่วงเรื้อรังหรือเป็นโรค ทั้งนี้ เพราะในผลมะตูม มีสารเพคตริน (pectin) ซึ่งจะไปรวมกับพิษของเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดท้องร่วง นอกจากนี้ยังมีสารเมือก สารแทนนิน และสารรสขม บางคนนิยมดื่มน้ำมะตูมแทนน้ำชา น้ำอ้อย เป็นเครื่องดื่มที่นิยมดื่มกันอย่างแพร่หลาย นิยมดื่มเป็นเครื่องเย็น โดยผสมน้ำแข็งหรือแช่เย็น แก้กระหาย ทำให้ชื่นใจ สารประกอบที่สำคัญในน้ำอ้อย ได้แก่ น้ำตาล ซูโครส ซึ่งเป็นอาหารที่สำคัญต่อร่างกาย เนื่องจากจะถูกย่อยและเผาผลาญ เป็นพลังงานได้รวดเร็ว นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องดื่มที่ช่วยขับปัสสาวะและเป็นยาเย็นได้อีกด้วย น้ำมะพร้าวอ่อน เป็นน้ำที่ได้จากผลมะพร้าวอ่อน มีความบริสุทธิ์มาก ปราศจากเชื้อโรค มีคุณค่าทางอาหารสูง แก้กระหายน้ำได้ ลดไข้ เป็นยาเย็น ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงร่างกาย เป็นยาระบายอ่อนๆ และฆ่าพยาธิในลำไส้ มีรายงานว่าสามารถให้ทารกดื่มแทนนมได้ หญิงมี ครรภ์ดื่มน้ำมะพร้าวแล้วจะช่วยบำรุงทารกในครรภ์ ในน้ำมะพร้าวอ่อน จะมีปริมาณน้ำตาลซูโครสมากกว่าน้ำมะพร้าวแก่และ นอกจากนี้ ในน้ำมะพร้าวอ่อนยังมีไวตามินบี คอมเพล็กซ์ โปรตีน ไขมัน และแร่ธาตุต่างๆ มากมาย เช่น โปแตสเซียม ธาตุเหล็ก เป็นต้น น้ำตาลสด น้ำตาลสด เป็นเครื่องดื่มที่มีรสหอมหวาน บำรุงร่างกายให้สดชื่น ชุ่มคอ น้ำตาบสดส่วนใหญ่ที่ขายกันในปัจจุบัน มักจะไม่ใช่น้ำตาลสดแท้ แต่ทำจากน้ำตาลปีปผสมาน้ำ ตั้งไฟ แล้วเติมปูนแดงเล็กน้อย เพื่อทำปฎิกิริยากับกรด อินทรีย์ในน้ำตาลปีป ให้น้ำตาลซูโครสคงสภาพ แต่งกลิ่นด้วยใบเตยหอมเคี่ยวน้ำตาลให้เดือด แล้วจะนำมา กรองผ่านผ้าขาวบาง น้ำตาลจะได้มีสี กลิ่น รส คล้ายน้ำตาลสด แต่ไม่หอมเท่าน้ำตาลสด ในน้ำตาลสดมีวิตามินบีรวม อยู่ด้วย ช่วยทำให้ร่างกายสดชื่น แก้กระหายน้ำ เป็นยาเย็น น้ำมะยม สามารถทำได้โดยใช้ผลมะยมแก่มาล้างให้สะอาดแล้วนำไปใส่น้ำสองเท่าของมะยม ต้มนาน 40 นาที หรือจนกว่า เนื้อมะยมจะนิ่ม จึงเทใส่กระชอน ยีเนื้อมะยมบนกระชอนให้ลอดรู กระชอนลงไป นำน้ำที่กรองมาได้ไปเติมน้ำตาล ทราบ แล้วต้มอีกที จะได้น้ำมะยมที่มีรสเปรี้ยวหวาน ส่วนเนื้อมะยมก็สามารถทำเป็นแยมได้ น้ำมะยม มีวิตามินซี ซึ่งมีประโยชน์ช่วยป้องกันเลือดออกตามไรฟัน และเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกายได้ นอกจากเครื่องดื่มชนิดต่างๆ ดังกล่าวแล้ว ยังมีน้ำผลไม้อีกหลายชนิดที่นิยมดื่มกันแพร่หลาย เช่น น้ำฝรั่ง น้ำแตงโม น้ำมะขาม น้ำองุ่น น้ำลำไย น้ำทับทิม น้ำรากบัว น้ำบ๊วย ฯลฯ จะเห็นได้ว่าเครื่องดื่มสมุนไพรให้ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ประโยชน์ทางตรง คือ ช่วยดับกระหาย คลายร้อย ทำให้สดชื่น มีรสอร่อย ส่วนประโยชน์ทางอ้อม ก็ยังเป็นยาบำรุงรักษาโรค ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ บำรุงร่างกาย เป็นยา ระบาย หรือแก้ท้องเสีย เป็นต้น นอกจากนั้นเครื่องดื่มสมุนไพรหลายชนิด ยังสามารถเตรียมได้ง่าย หรือหาดื่มได้ทั่วไป และประโยชน์ที่สำคัญอีกอย่างคือ เครื่องดื่มสมุนไพรไม่ต้องแต่สีด้วยสีสังเคราะห์ สีของเครื่องดื่มเป็นสีจากพืชโดยตรง จึงไม่เป็นพิษแก่ร่างกาย เว้นแต่ว่าหากท่านผู้ฟังซื้อมาดื่ม ก็ควรเลือกเครื่องดื่มที่เป็นสีธรรมชาติ ไม่ควรเห็นแก่ความ น่าดื่ม เพื่อจะให้ได้ประโยชน์จากเครื่องดื่มสมุนไพรมากที่สุด

การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน


การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (sustainable tourism) มีหลักการที่สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน (sustainable development) ซึ่งเป็นกระแสความคิดหลักของโลกในช่วง ๒ ทศวรรษที่ผ่านมา และได้รับความสนับสนุนจากคณะกรรมาธิการว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Commission on Sustainable Development) ขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งหลักการโดยทั่วไปของการพัฒนาอย่างยั่งยืนคือ จะต้องมีการอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรอย่างพอดี เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ต่อไปได้ในระยะเวลายาวนาน และมีการกระจายผลประโยชน์ให้แก่คนส่วนใหญ่ รวมทั้งมีการร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้ส่วนเสีย เมื่อนำหลักการนี้มาปรับใช้กับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จึงมีจุดเน้นที่สำคัญดังนี้
๑. จะต้องดูแลทรัพยากรการท่องเที่ยว ให้สามารถใช้ประโยชน์ต่อไปได้ในระยะเวลา ยาวนานจนถึงชั่วลูกชั่วหลาน มิใช่เพียงเพื่อคนรุ่นปัจจุบันเท่านั้น
๒. ลดการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง และลดปริมาณของเสียที่จะเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
๓. มีการกระจายรายได้และผลประโยชน์ให้แก่คนในท้องถิ่นที่มีแหล่งท่องเที่ยวตั้งอยู่ เปิดโอกาสให้ชุมชนในท้องถิ่นได้เข้าร่วมในการจัดการ และการให้บริการแก่นักท่องเที่ยว
๔. มีการประชุมปรึกษาหารือกันอย่างสม่ำเสมอระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยว และชุมชนในท้องถิ่น เพื่อการวางแผนงาน การจัดสรรงบประมาณ และการจัดการทรัพยากรอย่างเหมาะสม
๕. มีการสร้างเครือข่ายเพื่อเผยแพร่แนวคิด การศึกษาวิจัย และความรู้เกี่ยวกับการ ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ออกไปในหมู่ประชาชน ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศอย่างกว้างขวาง